องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ใหญ่

สภาพทั่วไป

ด้านภูมิศาสตร์

องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ใหญ่  เป็น  1  ใน  14  ตำบล  ในเขตอำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2540 และองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ใหญ่  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1  บ้านไผ่ใหญ่  ตำบลไผ่ใหญ่  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอม่วงสามสิบ ประมาณ  20  กิโลเมตร  ห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ไปทางทิศเหนือ ประมาณ  68  กิโลเมตร  และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟ  630  กิโลเมตร  โดยทางรถยนต์ 683  กิโลเมตร  มีพื้นที่ประมาณ 73 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 45,625 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตำบลต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ จรด     อบต.เหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี และ

จรด     อบต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ                        

ทิศใต้      จรด     อบต.นาเลิง อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

ทิศตะวันออก จรด    อบต.ยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

ทิศตะวันตก จรด     อบต.จิกดู่, อบต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ                  

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีความลาดชันอยู่เป็นหย่อมๆ มีลำห้วยไหลผ่านกระจายอยู่ตอนกลางของตำบล และตามแนวเขตทิศเหนือ และทิศใต้ ได้แก่ ห้วยเวียงหลวง ห้วยไผ่ใหญ่ เป็นต้น

เขตการปกครอง

ตำบลไผ่ใหญ่ ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน อยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ใหญ่ ทั้งหมด ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านไผ่ใหญ่      จำนวน  143  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง     จำนวน    45  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 3 บ้านแสงไผ่    จำนวน  113  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 4 บ้านโนนรังใหญ่ จำนวน  128  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 5 บ้านหนองมะทอ     จำนวน    98  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 6 บ้านโนนดู่              จำนวน    64  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 7 บ้านเหล่าสูง         จำนวน    54  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 8 บ้านไผ่ใหญ่          จำนวน    61  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 9 บ้านเหล่าค้อ         จำนวน    73  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่        จำนวน  131  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 11 บ้านโนนรังใหญ่   จำนวน  103  หลังคาเรือน

หมู่ที่ 12 บ้านแสงไผ่         จำนวน  135  หลังคาเรือน

สถานที่สำคัญในตำบลไผ่ใหญ่

อุโบสถวัดเวฬุวัน  เป็นอุโบสถที่มีอายุเก่าแก่มาก ไม่ปรากฏว่าสร้างสมัยใด จากคำบอกเล่าจากผู้เฒ่า  ทราบว่าบริเวณนั้นแต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่าด้วยป่าไผ่  มีลักษณะเป็นบ้านเก่าได้มีพระธุดงค์องค์หนึ่งเดินธุดงค์มาจากเวียงจันทร์  ชื่อ  พระญาครูสา ได้ธุดงค์เข้ามาในบริเวณนี้ ได้พบโบสถ์ร้างมีป่าไผ่ขึ้นปกคลุม  จึงได้จำวัดสวดมนต์ปฏิบัติกรรมฐานภายในอุโบสถหลังนี้ เมื่อปี พ.ศ.2471 และ พ.ศ.2474 พระองค์เจ้าธานีนิวัติและสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จมาทอดพระเนตรอุโบสถหลังนี้  เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์  อุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะมาแล้ว 2 ครั้ง  ครั้งสุดท้ายเมื่อปี  พ.ศ. 2489 โดยพระมหาจูม โชตโก (พระครูโศภนธรรมาภรณ์) เป็นประธาน

พระเจ้าใหญ่วัดเวฬุวัน  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบบนฐานชุกชี ภายในอุโบสถวัดเวฬุวันมีอายุเก่าแก่ที่สุด  เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีเรื่องเล่าว่า เคยมีคนมาดื่มน้ำสาบานต่อหน้าพระพุทธรูปองค์นี้แล้วได้เห็นผลทันตา

สระเซียงเมี่ยงหรือสระศรีธนญชัย เป็นสระน้ำโบราณที่สำคัญคู่บ้านไผ่ใหญ่ ไม่ทราบว่าขุดตั้งแต่ยุคใดสมัยใด  ถือกันว่าเป็นสระน้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก  ผู้ที่ได้ดื่มน้ำในสระแห่งนี้จะเกิดปัญญาเฉลียวฉลาด  ต่อมาได้ทำการขุดลอกสระเมื่อ  พ.ศ.2479 โดยพระมหาจูม  โชตโก  ภายหลังได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระครูโศภนธรรมาภรณ์  เป็นประธานในการขุดลอก  โดยเมื่อขุดลงไปได้พบคันไถอันหนึ่งมีขนาดใหญ่มากทำด้วยไม้ตะเคียนมีความสูงตั้งตรงวัดจากพื้นถึงหางไถ ประมาณ 2 เมตร ปัจจุบันนี้ได้หายไปแล้ว

โนนปู่ตาประจำบ้านไผ่ใหญ่